1-รู้จักกับ Cloud concept และ Microsoft Azure
สวัสดีครับ 🙏 วันนี้เรามาทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า Cloud Computing แบบไวๆและเข้าใจง่ายกันครับ
Last updated
Was this helpful?
สวัสดีครับ 🙏 วันนี้เรามาทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า Cloud Computing แบบไวๆและเข้าใจง่ายกันครับ
Last updated
Was this helpful?
Cloud computing มีชื่อภาษาไทยว่า “การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ” ซึ่งเจ้าคลาวด์นี้ก็คือรูปแบบการให้บริการทรัพยากรและเครื่องมือต่างๆ ให้เราสามารถใช้งานได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งบริการเหล่านี้รวมถึงบริการเซิร์ฟเวอร์สำหรับรันแอปพลิเคชัน การจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล ระบบเครือข่าย และซอฟต์แวร์สำเร็จรูปต่างๆที่ให้บริการทำให้เราสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้
แล้วทำไมถึงเรียกว่า “การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ” ?? สาเหตุที่มีชื่อนี้ก็เพราะว่าเป็นการใช้งานระบบ ข้อมูล และการประมวลผลจากระยะไกลนั้นเอง โดยบริษัทที่ให้บริการคลาวด์จะทำระบบให้ผู้ใช้สามารถจัดเก็บไฟล์และแอปพลิเคชันบนเซิร์ฟเวอร์จากระยะไกลนั่นเอง
โดยการใช้คลาวด์เป็นตัวเลือกยอดนิยมในปัจจุบันเลยทีเดียว นิยมทั้งแบบใช้งานรายบุคคลและด้านองค์กรอีกด้วย สาเหตุที่คลาวด์มันปังขนาดนี้ก็เพราะว่า มันช่วยให้เราประหยัดต้นทุน ได้ผลลัพธ์หรือผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยนั้นเอง
หากจะให้เข้าใจง่ายก็คือ เราเป็นผู้ใช้บริการ
ที่อยู่ของข้อมูลหรือแอปพลิเคชันที่ประมวลผลอยู่จะอยู่ที่ Data Center ซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลก
ส่วนต่อมาครับ จะมีสิ่งที่เรียกว่า Deployment Models หรือรูปแบบโมเดลการให้บริการคลาวด์ครับ
1.Public clouds คลาวด์สาธารณะเป็นระบบคลาวด์ที่ให้บริการบนเซิร์ฟเวอร์และที่เก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ดำเนินการโดยบริษัทผู้ให้บริการคลาวด์ ซึ่งผู้ให้บริการคลาวด์จะจัดการและควบคุมฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และโครงสร้างพื้นฐานทั่วไปทั้งหมด ซึ่งลูกค้าหรือผู้ใช้บริการจะเข้าถึงบริการผ่านแอคเคาท์ ซึ่งทุกคนจะสามารถเข้าถึงบริการต่างๆได้
2.Private clouds ระบบคลาวด์ที่มีความเป็นส่วนตัว สงวนไว้สำหรับลูกค้าบางกลุ่มที่เท่านั้น โดยปกติแล้วจะเป็นการใช้งานภายในธุรกิจหรือองค์กรนั้นๆ ศูนย์บริการข้อมูลของบริษัทหรือองค์กรนั้นๆจะเป็นผู้ให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งส่วนตัวในเครือข่ายส่วนตัว
3.Hybrid clouds ไฮบริดคลาวด์ คลาวด์ลูกผสมที่นำเอาข้อได้เปรียบของทั้ง Public clouds และ Private clouds มาใช้ร่วมกัน ซึ่งโมเดลประเภทนี้ช่วยให้ผู้ใช้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากขึ้นและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัยของผู้ใช้
ส่วนต่อมาเรามารู้จักกับประเภทของบริการแต่ละระดับของคลาวด์กัน
Cloud Computing เป็นระบบที่ประกอบด้วยสามบริการเป็นหลักนั่นคือ Infrastructure-as-a-service (IaaS) Software-as-a-service (SaaS) และ Platform-as-a-service (PaaS) แล้วเจ้าบริการทั้งสามนี้แตกต่างกันอย่างไร ให้เรามาสังเกตที่ภาพด้านล่างก่อนครับ
จากภาพนี้จะสรุปได้ว่าในบริการแต่ละระดับจะแตกต่างกันตรงที่ “หน้าที่ความรับผิดชอบของฝั่งผู้ใช้และผู้ให้บริการ” โดยจะเห็นได้ว่า Infrastructure-as-a-service (IaaS) จะเป็นระดับที่จะต้องใช้ทักษะในการจัดการเชิงเทคนิคมากที่สุด ผู้ใช้จะต้องจัดการในส่วนของระบบปฏิบัติการ มิดเดิลแวร์ รันไทม์เองทางผู้ให้บริการจะเป็นฝ่ายในการจัดเตรียมฮาร์ดแวร์ ส่วนของเครือข่าย และระบบ Virtualization ไว้ให้แล้ว ต่อมาในส่วนของ Platform-as-a-service (PaaS) จะเป็นส่วนที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนา โดยผู้ใช้จะมีหน้าที่รับผิดชอบเพียงพัฒนาแอปพลิเคชันและจัดเตรียมข้อมูล ฐานข้อมูลต่างๆ ในส่วนของฮาร์ดแวร์ และระบบโครงสร้างพื้นฐานนี้ ทางผู้ให้บริการได้จัดเตรียมไว้ให้เรียบร้อยแล้ว เราเพียงสร้า service บนหน้า portal หรือ CLI หรือช่องทางอื่นๆที่ผู้ให้บริการมีมาให้แล้วและนำแอปพลิเคชันหรือข้อมูลของเราไปรันไว้บนคลาวด์ได้เลย และส่วนสุดท้าย Software-as-a-service (SaaS) เป็นส่วนที่ผู้ใช้งานมีหน้าที่ใช้บริการอย่างเดียวเลย ส่วนของฮาร์ดแวร์และระบบหลับ้านอื่นๆทางผู้ให้บริการจัดเตียมไว้ให้เรียบร้อยแล้ว เป็นการใช้งานซอฟต์แวร์ผ่านทางออนไลน์ไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอร์ฟแวร์บนเครื่องผู้ใช้เลย แต่เอ๊ะ แล้วตัวแรกล่ะ คืออะไร On Premises อันนี้คือ IT Infrastructure ที่ตั้งอยู่ที่ไซต์ขององค์กรนั้นๆเองส่วนนี้จะไม่ใช่บริการที่อยู่บนคลาวด์ ส่วนนี้บริษัทหรือองค์กรจะต้องดูแลทั้งฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ของตนเองเลย
Application โค้ดหรือชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใช้เพื่อทำงาน เช่น เว็บแอปพลิเคชันประมวลผลคำ โปรแกรมบัญชี หรือระบบจัดการข้อมูล
Data ข้อมูลต่างๆ สำหรับการประมวลผล ทั้งที่อยู่ในรูปของไฟล์ชนิดต่างๆ หรือข้อมูลในฐานข้อมูล
Runtime ส่วนที่ใช้ในการรันโปรแกรม
Middleware ซอฟต์แวร์กลางที่เชื่อม Client และ Server เข้าด้วยกัน อาจจะเชื่อม Server กับ Server ด้วยกันเองได้
OS ระบบปฏิบัติการที่ควบคุมการจัดสรรและการใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์
Virtualization การสร้างการจำลองเสมือนในเวอร์ชันเสมือน (แทนที่จะเป็นจริง) ซึ่งรวมถึงแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์เสมือน อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และทรัพยากรเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Server เครื่องแม่ข่ายหรืออคอมพิวเตอร์ที่ให้ทรัพยากรที่ใช้ร่วมกัน
Storage อุปกรณ์ที่สามารถเก็บข้อมูลเพื่อเรียกค้นในภายหลังได้
Networking หมวดหมู่ย่อยของเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีแอปเพื่อช่วยนักพัฒนาในด้านเครือข่ายในการสร้างแอป
Azure คือคลาวด์แพลตฟอร์มที่ให้บริการโดย Microsoft มีบริการคลาวด์มากกว่า 200 รายการ มีบริการถึง 10 หมวดหมู่หลัก Compute, Networking, Storage, Mobile, Databases, Web, Internet of Things (IoT), Big data, AI และ DevOps
สำหรับการใช้งานบริการบน Azure ราคาแต่ละบริการจะคิดไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งาน และรูปแบบราคาต่างๆ ซึ่งเราสามารถคำนวณราคาก่อนใช้งานได้โดยใช้ Azure Pricing Calculators
สามารถลงทะเบียนรับเครดิตใช้งาน 200$ ใช้ได้ 30 วัน
และยังมีบาง บริการยอดฮิตที่เปิดให้ใช้ฟรี 12 เดือน
และอีกกว่า 40 บริการที่ฟรีไปตลอด
แต่หากน้องๆเป็นนักเรียน นักศึกษา สามารถนำอีเมลล์ของน้องๆที่ได้จากสถานศึกษามา activate กับ ได้รับเครดิต 100$/ปี และมีการรีเครดิตให้ใหม่ทุกปีอีกด้วย ข้อสำคัญคือ ไม่ต้องใช้บัตรเครดิตตอนสมัคร
หากเพื่อนๆต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Azure สามารถไปตำกันต่อได้ที่
🐲 Sirasit Boonklang (แอดเอฟ) - Tech & Coding Consultant @ borntoDev Co., Ltd.
| | |